Call Us

Location

Category: Uncategorized

  • ทนายอาสา: การให้บริการทางกฎหมายเพื่อสังคม

    ในสังคมปัจจุบัน การเข้าถึงความยุติธรรมและบริการทางกฎหมายเป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ แต่ในหลายกรณี ผู้คนจำนวนมากยังขาดโอกาสในการเข้าถึงทนายความที่มีคุณภาพ เนื่องจากข้อจำกัดทางการเงิน หรือความไม่รู้เกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของการให้บริการโดยทนายอาสา ทนายอาสา คือ ทนายความที่เป็นอาสาสมัคร ทำหน้าที่บริการให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยทนายอาสาจะนั่งเวรให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชนที่สภาทนายความหรือที่ศาลตามวันเวลาที่กำหนด เน้นการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในกรณีที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือทางกฎหมาย แต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทนายความที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ ซึ่งจะเป็นไป ตาม พรบ.ทนายความ มาตรา 78 ที่กำหนดไว้ว่า “ประชาชนผู้มี สิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายต้องเป็นผู้ยากไร้และไม่ได้ รับความเป็นธรรม” ซึ่งทนายอาสาจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายเท่านั้น ไม่สามารถที่จะติดต่อมาขอว่าความเองทีหลังหรือรับทำคดีฟรีเองได้ เพราะทนายความนั้นถือเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัยความรู้และความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อให้บริการทางกฎหมายที่มีคุณภาพแก่ลูกความ ดังนั้น การว่าความฟรีในฐานะทนายอาสาจึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดไม่ใช่ใครก็ทำได้โดยพละการ อีกทั้งยังต้องอยู่ภายใต้หน่วยงานต้นสังกัด เช่น สภาทนายความ หรือ สำนักงานอัยการ ที่เป็นผู้จัดสรรค่าตอบแทนให้กับทนายอาสา ตามข้อบังคับของสภาทนายความว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย พ.ศ. 2529 ข้อ 16 ระบุไว้ชัดเจนว่า“ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือไม่ต้องเสียค่าทนายความ หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้แก่ทนายความผู้ดำเนินการทั้งสิ้น”   ดังนั้น ทนายอาสามีข้อดีหลายประการที่ส่งผลดีต่อสังคมและผู้ที่ได้รับบริการทางกฎหมาย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความยุติธรรมในสังคม โดยการให้บริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายช่วยให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทางกฎหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม 

    Read More: ทนายอาสา: การให้บริการทางกฎหมายเพื่อสังคม
  • คนพิการทำงาน: สิทธิและโอกาสในตลาดแรงงาน

    ในปัจจุบัน สังคมเริ่มมีทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการมากขึ้น ความหลากหลายและความแตกต่างในสังคมได้รับการยอมรับ และมีการเห็นคุณค่าของคนพิการในหลายด้าน การส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม คือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงสิทธิและโอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน การจ้างงานคนพิการเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม  ซึ่งการจ้างงานคนพิการในตลาดแรงงานถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยเองมี พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็นมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ โดยเฉพาะในการสร้างโอกาสในการทำงานและการมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อให้คนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์และการอํานวยความสะดวกเพิ่มขึ้นและมีโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองมากขึ้น หลักเกณฑ์ในการจ้าง จะเห็นได้ว่า การจ้างงานคนพิการตามกฎหมายมีความสำคัญในหลายด้านที่ส่งผลดีต่อทั้งคนพิการและสังคมโดยรวม ไม่เพียงแต่ช่วยให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมและช่วยให้เกิดความหลากหลายในการทำงาน ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมที่จำเป็นในสังคมปัจจุบัน การสนับสนุนการจ้างงานคนพิการจึงไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังเป็นการสร้างสังคมที่มีความเข้าใจและสนับสนุนกันอย่างแท้จริง

    Read More: คนพิการทำงาน: สิทธิและโอกาสในตลาดแรงงาน
  • “แรงงานต้องปรับตัว: ทักษะ AI กลายเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน”

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของเราอยู่เสมอ ทั้งการทำงานระยะไกล การใช้ระบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งยังเห็นร้านค้าเข้าสู่แพลตฟอร์ม e-commerce มากขึ้น นอกจากเทรนด์การทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว แรงงานยังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นแรงงานอิสระมากขึ้นทำให้เราจำเป็นต้องรู้จักเทรนด์เพื่อปรับตัวสู่การทำงานในอนาคต วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ทีม Big Data จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เปิดเผยผลวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะความต้องการแรงงานและทักษะที่นายจ้างต้องการในปัจจุบัน ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Large Language Models (LLMs) เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยอุตสาหกรรมที่ต้องการทักษะ AI มากที่สุดใน 3 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 483 ตำแหน่ง 2. อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย 398 ตำแหน่ง และ 3. อุตสาหกรรมการกิจกรรม การบริหาร และบริการสนับสนุน 394 ตำแหน่ง นอกจากนี้ เมื่อนำข้อมูลชุดเดียวกันไปจำแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่า กลุ่มอาชีพ 3 อันดับแรกที่ต้องการทักษะ…

    Read More: “แรงงานต้องปรับตัว: ทักษะ AI กลายเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน”
  • การพนันออนไลน์: ภัยร้ายที่ควรตระหนักในสังคม

    “การพนัน” เป็นกิจกรรมที่มีมานานในสังคมมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างมากมายต่อบุคคลและสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะวัยรุ่นและเยาวชน ความอยากรู้อยากลอง การแสวงหาความตื่นเต้น และความต้องการเสี่ยงโชค ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายคนเริ่มเล่นการพนันในครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการเล่นตามเพื่อนหรือถูกชักชวนจากคนรอบข้าง ความตื่นเต้นและความสนุกสนานที่ได้รับจากการเล่นในช่วงแรกสามารถนำไปสู่การเล่นซ้ำและเพิ่มขึ้นในครั้งถัดไป เมื่อการพนันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากมาย เช่น การติดการพนัน การขาดทุนทางการเงิน และผลกระทบต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ในครอบครัว ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการพนันจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน โดยเฉพาะในปัจจุบัน การเปิดให้บริการเว็บพนันออนไลน์กลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เว็บไซต์เหล่านี้มักมีโปรโมชั่นแจกเงินเพื่อดึงดูดผู้เล่นใหม่ รวมถึงการใช้หน้าม้าที่เข้ามาชักชวนให้เล่นพนัน โดยอ้างว่าสามารถทำกำไรได้ด้วยสูตรเด็ดต่าง ๆ เพียงแค่ลงเงินทุนก็จะได้รับผลตอบแทนที่สูง ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ที่โฆษณาเชิญชวนให้ผู้อื่นมาร่วมเล่นการพนันนั้น ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.การ พนันฯ มาตรา 12 มีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว็บพนันออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ และโฆษณาชวนเชื่อมักแฝงมากับการลงทุนหรือโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจผู้เล่น ทำให้ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการพนันรู้สึกอยากลอง แต่สุดท้ายแล้ว ผู้ที่ตกหลุมพรางเหล่านี้มักจะพบว่าตนเองตกอยู่ในวงจรที่ยากจะหลุดพ้น การสูญเสียเงินทุนและประสบกับปัญหาทางการเงินจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความเสี่ยงของการพนันออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น การให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้คนสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของกลโกงในวงการนี้ 

    Read More: การพนันออนไลน์: ภัยร้ายที่ควรตระหนักในสังคม
  • กฎกระทรวงกำหนดให้ “การพนัน” 23 ชนิด เล่นได้ภายในกำหนดเวลา 

    วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2567) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ให้การพนันต่อไปนี้ ให้เล่นได้ภายในกำหนดเวลา จำนวน 23 ชนิด อาทิ ชกมวย มวยปล้ำ วิ่งวัวคน โยนห่วง ไพ่นกกระจอก เพื่อให้การละเล่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างอาชีพในท้องถิ่นและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  การเล่นพนันทั้ง 23 ชนิดที่มีการประกาศเป็นประเภท ข. อาจมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ทำให้ประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดว่าตนสามารถเล่นพนันได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เนื่องจากกฎหมายไทย ยังไม่อนุญาตให้เล่นพนันได้อย่างเสรี ดังนั้น ยังคงต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนเล่น แต่ในประกาศใหม่มีการปรับเปลี่ยนเวลาให้เหมาะสมมากขึ้น โดยกำหนดเวลาเล่นในช่วงกลางคืน ซึ่งไม่ได้เป็นการกระตุ้นให้คนทั่วไปหันไปเล่นพนันประเภทอื่นอย่างที่มีการกังวลกัน เพราะการพนันประเภทนี้ถือเป็นการละเล่นที่มีลักษณะเป็นครั้งคราว ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การปรับเปลี่ยนเวลาเพียงเพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีและความสะดวกของผู้เล่น ทำให้การเล่นยังคงอยู่ในกรอบที่เหมาะสม

    Read More: กฎกระทรวงกำหนดให้ “การพนัน” 23 ชนิด เล่นได้ภายในกำหนดเวลา 
  • การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน: สิทธิและการคุ้มครองที่ควรรู้

    พฤติกรรมการกลั่นแกล้งในที่ทำงานถือเป็นปัญหาร้ายแรงและสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ ในประเทศไทย มีการบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองผู้ถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงาน ซึ่งหนึ่งในมาตราที่สำคัญคือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท” ซึ่งการกระทำที่มีลักษณะเป็นการข่มเหง ข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งซึ่งกันและกัน โดยอาจเกิดจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือแม้แต่จากผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ได้รับมอบหมายงานที่ไม่สามารถทำได้ ถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรงต่อหน้าคนในองค์กร หรือ ถูกข่มขู่ว่าจะลดเงินเดือนหรือลดประโยชน์ การกระทำเหล่านี้สามารถเป็นทั้งคำพูดและการกระทำที่ทำให้เกิดความเครียดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน  ดังนั้น มาตรา 397 จึงมีขึ้นเพื่อปกป้องผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิในที่ทำงานให้สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่กระทำการรังแกได้ โดยเน้นการป้องกันข้อพิพาทระหว่างบุคคลไม่ให้เรื่องราวบานปลายใหญ่โต และป้องกันไม่ให้ความผิดอาญาขยายใหญ่เกินไป จนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข สำหรับความผิดตามมาตรานี้นั้นจะเป็นความผิดแบบลหุโทษ ซึ่งหมายถึงความผิดที่จริง ๆ แล้วถือว่ายอมความกันได้ในชั้นของพนักงานสอบสวน แต่ถ้าหากผู้เสียหายอยากต่อสู้จนถึงที่สุด ก็สามารถดำเนินการร้องทุกข์ต่อไปได้ เพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไปได้เช่นกัน  การกลั่นแกล้งในที่ทำงานเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม และมีการคุ้มครองตามกฎหมายที่ชัดเจน ผู้ถูกกระทำควรรู้ถึงสิทธิของตนและสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อปกป้องตนเอง นอกจากนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นบวกและปราศจากการกลั่นแกล้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อสุขภาพจิตและความสุขในการทำงานของพนักงานทุกคน

    Read More: การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน: สิทธิและการคุ้มครองที่ควรรู้
  • สอบสวนกลางจ่อบุกเรือนจำ แจ้งข้อหาเพิ่ม 18 บอส ‘ดิ ไอคอน’ เร่งพิจารณาปมเข้าข่าย‘คดีพิเศษ’

    เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. มีคำสั่งให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เข้ามาร่วมสอบสวนในคดี “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าในการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับบรรดาบอสทั้ง 18 คนพล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผบช.ก. และ พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. ได้หารือกันเกี่ยวกับการแจ้งข้อหาเพิ่มเติม โดยข้อหาหลักที่จะถูกแจ้งคือการฟอกเงิน พร้อมกับความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินและข้อหาอื่น ๆ เช่น อั้งยี่และซ่องโจร เนื่องจากมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายองค์กรอาชญากรรมทีมสอบสวนเตรียมเข้าไปแจ้งข้อหาในเรือนจำภายในสัปดาห์นี้ โดยจะมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินและสถานะทรัพย์สินของผู้ต้องหาทั้งหมด เพื่อรวบรวมหลักฐานให้แน่ชัดเกี่ยวกับการกระทำผิดนอกจากนี้ หลังจากการแจ้งข้อหาฟอกเงินแล้ว ทีมสอบสวนจะหารือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ว่าจะมีการส่งสำนวนไปดำเนินคดีต่อหรือไม่ เนื่องจากคดีนี้มีแนวโน้มเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษในส่วนของการขยายผลไปยังผู้ต้องหากลุ่มที่สอง ทีมสอบสวนกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อออกหมายเรียกหรือหมายจับเพิ่มเติมในกลุ่มแม่ข่ายและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการลงนามในเอกสารที่มีผลทางกฎหมาย คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบอีกสักระยะก่อนมีความชัดเจนเพิ่มเติม

    Read More: สอบสวนกลางจ่อบุกเรือนจำ แจ้งข้อหาเพิ่ม 18 บอส ‘ดิ ไอคอน’ เร่งพิจารณาปมเข้าข่าย‘คดีพิเศษ’
  • สาวเครียดสมัครงานเป็นคนขับรถ เจอ ‘หนี้เงินกู้ก้อนโต’ บริษัทโต้กลับยืนยันตามขั้นตอน

    ที่เมืองกุ้ยหยาง, ประเทศจีน ได้เกิดข้อพิพาทขึ้นเมื่อคุณหยาง (นามสมมุติ) สาวผู้สมัครงานเป็นคนขับรถขนส่งสินค้า เล่าถึงประสบการณ์เครียดหลังจากเซ็นสัญญา ซึ่งทำให้เธอต้องรับผิดชอบหนี้เงินกู้ถึง 62,000 หยวน (ประมาณ 288,650 บาท) สำหรับการซื้อรถมือสองคุณหยางเล่าว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมา เธอได้ไปสัมภาษณ์งานและตกลงเรื่องเนื้อหางานและเงินเดือน “เขารินน้ำให้ฉันหนึ่งแก้ว และเมื่อฉันดื่มมัน รู้สึกเหมือนมีบางอย่างสะกดฉันไว้ ฉันเพียงแค่ทำตามที่เขาบอก” ต่อมาเธอพบว่าตนเองรู้สึกเหมือนถูกหลอกเมื่อพบว่าตนเองได้เซ็นสัญญากู้เงินเพื่อซื้อรถเมื่อถูกนักข่าวสอบถามว่าเธอไม่ได้อ่านเนื้อหาสัญญาหรือไม่ คุณหยางเผยว่า การศึกษาของเธอต่ำทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เซ็นได้ด้านตัวแทนของบริษัทที่ถูกกล่าวถึง ชี้แจงว่า หากพนักงานไม่มีรถ บริษัทจะจัดหาให้ แต่เงินเดือนจะต่ำกว่า ในกรณีที่ซื้อรถเอง บริษัทจะมอบหมายงานขนส่ง และคุณหยางยอมรับว่าเธอรู้ถึงขั้นตอนการเซ็นสัญญาบริษัทยังอ้างว่าคุณหยางต้องรับผิดชอบเงิน 30,000 หยวน (ประมาณ 139,800 บาท) หากต้องการคืนรถ ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมการซื้อคืนและเบี้ยประกัน ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ และคุณหยางตั้งใจจะรายงานเรื่องนี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเป็นธรรม

    Read More: สาวเครียดสมัครงานเป็นคนขับรถ เจอ ‘หนี้เงินกู้ก้อนโต’ บริษัทโต้กลับยืนยันตามขั้นตอน
  • ความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่”

    ในยุคที่การทำธุรกิจออนไลน์กำลังเฟื่องฟู การเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการลงทุนจึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจขายตรง” และ “แชร์ลูกโซ่” โดยเริ่มมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545” เนื่องจากเริ่มมีการระบาดของธุรกิจแอบแฝงที่เรียกว่า “แชร์ลูกโซ่” ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก พระราชบัญญัตินี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบการทำงานที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจขายตรง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคและการปกป้องสิทธิของผู้ลงทุนอีกด้วย การขายตรง เป็นโมเดลธุรกิจที่ผู้ขายสามารถจำหน่ายสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค โดยไม่ต้องมีการจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าหรือช่องทางการขายอื่น ๆ ซึ่งลักษณะสำคัญของการขายตรง  1.ผู้ประกอบธุรกิจต้องจดทะเบียนก่อนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.ค่าธรรมเนียมในการสมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงต้องมีความเหมาะสม เงินค่าสมัครจ่ายเพื่อคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และสินค้าตัวอย่างเท่านั้น 3.มีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง โดยมีแผนธุรกิจที่เป็นไปได้จริง และคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว 4.การจ่ายผลตอบแทน รายได้ และตำแหน่ง ให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่ใช่การระดมทุนหรือใช้เงินซื้อตำแหน่ง โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นแผนธุรกิจในการจ่ายผลตอบแทนเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาและอนุมัติ 5.เน้นการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ ยอดขายมาจากการจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยตรอ ไม่ได้มาจากการกักตุนสินค้าของผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ 6.มีการรับประกันความพอใจของสินค้า โดยลูกค้าสามารถคืนสินค้ากับบริษัทได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 7.มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และผู้บริโภค 8.ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องไม่กล่าวอ้างหรือโฆษณาสรรพคุณของสินค้าเกินจริง การแชร์ลูกโซ่ เป็นกลโกงทางการเงินที่มีรูปแบบการดำเนินงานคล้ายคลึงกับธุรกิจขายตรง แต่ไม่มีการขายสินค้าหรือบริการที่แท้จริง ฃโดยมักจะสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทที่น่าเชื่อถือและมีอนาคตที่สดใส อ้างว่ามีผลตอบแทนที่สูงและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น ลักษณะสำคัญของแชร์ลูกโซ่  ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองรูปแบบนี้อยู่ที่ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจและความโปร่งใส ในขณะที่ธุรกิจขายตรงเน้นการขายสินค้าหรือบริการอย่างแท้จริง…

    Read More: ความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่”
  • การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้

    เรื่องเงินและทรัพย์สินมักก่อให้เกิดปัญหาที่ทำให้หลายคนรู้สึกเครียด โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการหยิบยืมเงิน ซึ่งส่งผลต่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางจิตใจและสังคม ในบทความนี้จะพูดถึงกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิลูกหนี้ในกระบวนการทวงหนี้ ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558: กฎหมายนี้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทวงหนี้ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ป้องกันการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกหนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต  ใครมีสิทธิ์ทวงหนี้ ตามกฎหมาย ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ มีสิทธิ์ในการทวงหนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาหรือข้อตกลงที่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวแทนของนิติบุคคล ในนามของบริษัทสินเชื่อ, ประกัน, ธนาคาร, เจ้าหนี้นอกระบบ และอื่นๆ ได้ การนับความถี่และขอบเขตการทวงหนี้ การทวงหนี้จะนับเมื่อลูกหนี้รับทราบการทวงอย่างชัดเจน การติดต่อที่ไม่ได้เจาะจงถึงการทวงหนี้ หรือไม่ได้รับการตอบรับจากลูกหนี้ไม่ถือว่าเป็นการทวงหนี้ตามกฎหมายและเจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง 8.00 น.- 20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00 น.-18.00 น. ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ หากเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามจะมีผลอย่างไร หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ถือว่ามีความผิด สามารถแจ้งร้องเรียนเอาผิดได้ โดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้สามารถมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี…

    Read More: การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้