
ตอนแรกผมตั้งใจจะเขียน บทความที่มีความยาวซักหน่อย .. แต่เกรงว่าจะไม่มีคนอ่านเลยอยาก จะสรุปสั้นๆ ง่ายเพื่อที่จะได้ไม่ยาวจนเกินไปนัก … ช่วงนี้ผมได้รับคำถามว่า ถ้าให้เพื่อนยืมเงิน แล้ว ทวงหนี้ เราจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติ การ ทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ ( พรบ.ทวงหนี้) หรือเปล่า หลายๆ คนตีความไว้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก ผมเห็นมีหลายเว็บหรือการแชร์ จึงอยากเล่า… เอางี้ สิ่งที่สำคัญว่า เราต้องรับผิดตาม พรบ. การ ทวงถามหนี้ หรือไม่นั้นให้พิจารณาก่อนว่าเราเป็น ผู้ ทวงถามหนี้ ตาม พรบ. นี้หรือไม่… ดังนั้น ผมขอเริ่ม อย่างนี้ก่อนก็แล้วกัน….
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ ดังกล่าว ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอํานาจจาก ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย
ดังนั้นก่อนจะไปดูเนื้อหาต่อไปว่า เรากระทำผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาก่อนว่า เราเป็นบุคคลตาม พรบ. การทวงถามหนี้ นี้ได้นิยามไว้หรือไม่ …เรื่องหนี้ประกอบการ หนี้อื่นๆ ผมไม่ขอยกถึง เอาแค่ คำว่า ผู้ให้สินเชื่อ ก่อนก็แล้วกันว่ามีคำนิยามอย่างไร
“ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า
(๑) บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือ
(๒) บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด
ดังนั้น พิจารณาว่า ตัวเองเป็นผู้ให้สินเชื่อหรือไม่ เพราะตามมาตรา 3 ระบุว่า ผู้ทวงถามหนี้ ตาม พรบ.การ ทวงถามหนี้ นี้หมายถึงเฉพาะตามคำนิยามเท่านั้น นอกเหนือนี้ ไม่ถือว่าเป็นผู้ ทวงถามหนี้ ตาม พรบ. ทวงหนี้ ดังนั้น หากจะ ทวงถามหนี้ เพื่อนตัวเองที่เราช่วยเหลือยามเค้าเดือดร้อนก็ไม่มีความผิด ตาม พรบ.การ ทวงถามหนี้ แต่อย่างใด ทวงได้ …..เจ้าหนี้ก็อย่าให้ทวงเกินขอบเขตมากนัก เอาให้เหมาะสมก็แล้วกันนะครับ …. ส่วนคนเป็นหนี้ก็ควรจะคำนึงว่า ตอนลำบาก เค้าช่วยเหลือ ก็น่าจะคืนเค้าไป …